skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
มสช. ร่วมกับ บ.ไทยเบฟ ลงพื้นที่ติดตามและวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายวิสาหกิจสมุนไพรชัยภูมิ

มสช. ร่วมกับ บ.ไทยเบฟ ลงพื้นที่ติดตามและวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายวิสาหกิจสมุนไพรชัยภูมิ

มสช. ร่วมกับ บ.ไทยเบฟ ลงพื้นที่ติดตามและวางแผนขับเคลื่อน

เครือข่ายวิสาหกิจสมุนไพรชัยภูมิ

 

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิสัมมาชีพ นำโดย คุณวลัยพร ทิพยศุภลักษณ์ ผู้อํานวยการมูลนิธิสัมมาชีพ คุณผดุงศักดิ์ พื้นแสน ที่ปรึกษาสำนักงานมูลนิธิสัมมาชีพ ทีมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรชัยภูมิเพื่อติดตามการดำเนินงานและวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกันของภาคีเครือข่ายสมุนไพรชัยภูมิ ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ฟาร์มเห็ดกาญจนา ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  โดยมีการตรวจเช็คข้อมูลกลุ่มกับเครือข่าย ได้ข้อมูลดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิสหกิจชุมชนผักแปลงใหญ่บ้านนาหนองตูม มีสมาชิกกลุ่ม 30 คน มีพื้นที่ปลูกรวม 3 ไร่ ใช้ระบบน้ำในบึงกับบ่อบาดาล สมุนไพรที่ปลูกเป็นหลักคือ ตะไคร้ตัดใบ ภาคีเครือข่าย ได้แก่  องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สำนักงานเกษตรอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ มีแผนการทำงานปรับพื้นที่และจัดทำผังการปลูกของสมาชิก

กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิสหกิจชุมชนเกตรผสมผสานบ้านหนองตาไก้ มีสมาชิกกลุ่ม 20 คน มีพื้นที่ปลูกรวม 20 ไร่ (เตรียมการปลูกแล้ว 10 ไร่) ใช้ระบบน้ำธรรมชาติร่วมกับบ่อบาดาล สมุนไพรที่ปลูกเป็นหลัก คือ ตะไคร้ตัดใบ ข่าเหลือง ขมิ้น ภาคีเครือข่าย ได้แก่  องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สำนักงานเกษตรอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ สำนักงานพาณิชจังหวัดชัยภูมิ  มีแผนการทำงานปรับพื้นที่ จัดทำผังการปลูกของสมาชิก พัฒนาระบบการกระจายน้ำ และอบรมการทำเกษตรยั่งยืน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิสหกิจชุมชนโนนทองส่องตะวัน มีสมาชิกกลุ่ม 14 คน มีพื้นที่ปลูกรวม 3 ไร่ ใช้ระบบน้ำโดยใช้พลังงานโซล่าเซลล์ มีต้นแบบการจัดการน้ำ มีระบบน้ำบาดาล สมุนไพรที่ปลูกเป็นหลัก คือ ว่านไพร ขมิ้นชัน ภาคีเครือข่ายสำนักงานสภาเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีแผนการทำงานปรับพื้นที่ ทำผังการปลูกของสมาชิก พัฒนาระบบกระจายน้ำ และอบรมการทำเกษตรยั่งยืน

 

 

ในลำดับต่อมาจึงได้มีการประชุมเพื่อร่วมวางแผนการขับเคลื่อนงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. รายงานความก้าวหน้าของเครือข่าย ได้มีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน มีการเปิดบัญชี และลงนาม MOU กับ 17 องค์กร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิเพื่อทำงานวิจัย มีจุดรับซื้อผลผลิตบ้านไทรงามเป็นหลัก โดยรับซื้อทุกวันพุธ ครั้งละ 6 ตัน

​2. ทบทวนบทบาทโครงสร้างผู้ประสานงาน ได้แก่ ด้านการเงิน การประชาสัมพันธ์ และ การตลาด มีการจำหน่ายตระไคร้โดยมีตลาดรับซื้อหลักคือแม่ตังกวย

3. การวางแผนการทำงานของเครือข่าย

4. การพัฒนาแปลงรวม ​การตลาด

​5. กติกา/ระเบียบกลุ่ม ได้มีการจดทะเบียนวิสาหกิจกลุ่มตามกติกาของกลุ่มแล้ว

​6. การลงหุ้น/ระดมทุน/การใช้เงิน ได้มีการลงหุ้น หุ้นละ 10 บาท และมีการหัก 2% เป็นค่าดำเนินการกลุ่ม

​7. แผนธุรกิจได้มีการทำชุดข้อมูล ด้านการตลาดว่ามีที่ไหนบ้าง ราบละเอียดการรับซื้อสมุนไพรชนิดไหนบ้าง

 

 

จากประชุมได้มีการกำหนดแผนการโครงขับเคลื่อนและพัฒนา โดยมีแผนดังนี้

1. เพิ่มองค์ความรู้ด้านการตลาด

2. อบรมความรู้พัฒนาศักยภาพการปลูกตามมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน GAP

3. ศึกษาดูงานด้านสมุนไพรเพิ่ม

4. ศึกษาดูงานเรื่องตะไคร้ตัดใบ

5. เพิ่มเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรและการแปรรูปอย่างครบวงจร

6.พัฒนาองค์ความรู้ด้านดิน

7. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการแปรรูปอย่างครบวงจร

 


Back To Top