skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
สัมมาชีพเยี่ยมชมกิจกรรมบ้านแหลม สัมผัส-รับรู้วัฒนธรรมท่องเที่ยวชุมชน

สัมมาชีพเยี่ยมชมกิจกรรมบ้านแหลม สัมผัส-รับรู้วัฒนธรรมท่องเที่ยวชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สัมมาชีพเยี่ยมชมกิจกรรมบ้านแหลม สัมผัส-รับรู้วัฒนธรรมท่องเที่ยวชุมชน

 

ชุมชนบ้านแหลม เมืองสุพรรณบุรี ถิ่นอุดมด้วยสิ่งดีๆหลายหลายทั้งผู้คน วัฒนธรรมอาหาร เพลง มูลนิธิสัมมาชีพเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศด้านการบริการและการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเป็นวิสาหกิจแรกใน 5 วิสาหกิจที่มูลนิธิฯ ออกไปสัมผัส รับรู้ เข้าถึงจุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อคิดค้นหาจุดการทำกิจกรรมร่วมมือในอนาคตตามต้นแบบ “สัมมาชีพ”

นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิสัมมาชีพ และ นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการมูลนิธิสัมมาชีพและประธานตัดสินรางวัลวิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2564 นำเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ พร้อมเครือข่าย ลงพื้นที่เมื่อ 17 มี.ค. ที่ผ่านมาเพื่อเยี่ยมชมกิจการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศวิสาหกิจชุมชนสัมมาชีพต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2564 ด้านการบริการและการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

นายโสภณ พันธุ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ นำสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ หลากวัยทั้งหญิง-ชายให้การต้อนรับด้วยการเล่าเรื่องราววิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรมบ้านแหลมผ่านการร้องเพลงเกี่ยวข้าวบอกถึงอาหารท้องถิ่น วิธีจับปลา พร้อมกับมีสมาชิกชุมชนแสดงท่าทางประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง จากนั้นตามด้วยเพลงฉ่อยแนะนำสมาชิกทีละคน

 

นายโสภณ กล่าวว่า ช่วงโควิดระบาดความสัมพันธ์ของคนในชุมชนบ้านแหลมเปลี่ยนไปและถอยห่างจากประเพณีกันบ้าง โดยเฉพาะการกินข้าวจากเคยกินร่วมกันก็ต้องแยกกัน ส่วนการท่องเที่ยวกิจกรรมหลักของชุมชนได้ปฎิบัติตามมาตรฐาน SHA อย่างเข้มข้นซึ่งเป็นกฎด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป

สิ่งสำคัญที่นายโสภณ ย้ำคือ อาหารที่นำมาต้อนรับครั้งนี้ ล้นเป็นอาหารขึ้นชื่อของชุมชน เป็นของดีมาจากแต่ละบ้านจำนวน 5 ครัวเรือนทำอาหารบ้านละ 2 ชนิดมาให้มูลนิธิฯ ได้ลิ่มรส แม้ไม่ได้นำเสนอรสชาติความอร่อย แต่เป็นการบอกถึงการดำรงชีวิตท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้อย่างหนึ่งของชุมชนที่มีกติกาว่า รายได้จากท่องเที่ยวต้องถูกหัก 10% นำเข้ากลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวฯ

 

“คนต่างถิ่นมาเที่ยวมักด้อยค่าอาหารและสินค้าชุมชน แต่เราต้องการบอกว่า อาหารคือเรื่องราวการกินของชุมชน เป็นอาหารจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมี เราไม่บอกกล่าวถึงความอร่อย แต่เป็นของกิน ของดีของแต่ละบ้านในการดำรงชีวิต”

นอกจากนี้ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมยังจัดซุ้มเรียนรู้ขนมท้องถิ่น ซุ้มอาหารคาวปลาเค็มแห้งและกะปิกุ้งนาขึ้นชื่อ อีกทั้งผลิตภัณฑ์จักรสานผักตบชวาทั้งกระเป๋า หมวก เครื่องประดับ พร้อมกับมีธูปหอมหลากสีมาแสดงให้มูลนิธิฯได้ชมและชิม หรือร่วมทำกิจกรรมด้วยตัวเอง หรือเลือกซื้อเป็นของฝาก

 

“ปัญหาที่อยากขอความช่วยเหลือ คือ ชุมชนประเมินเรื่องต้นทุนอาหารบริการไม่เป็น หากทำมากต้นทุนก็เพิ่ม เราต้องการให้มีอาหารที่หลากหลาย อยากได้คนมีความรู้มาช่วย อยากได้มืออาชีพมาช่วยปรับปรุงชุมชน เรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อน เราไม่มีนโยบายในการกู้เงินเป็นหลัก ถ้ากู้ต้องรู้ว่า เอาไปทำอะไร แล้วก็เอาเงินท่องเที่ยวไปจ่ายคืน”

 

นายมงคล กล่าวถึงชุมชนบ้านแหลมว่า มาเยี่ยมชมและเห็นถึงความเข็มแข็งของชุมชน ร่วมแรงช่วยเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ขนมที่มาแสดงเป็นของกินที่อร่อย ดังนั้น มูลนิธิฯ คงหารือที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือกิจกรรมท่องเที่ยวได้อย่างไร ละหน่วยงานรัฐที่เป็นเครือข่าย ทั้ง เอสเอ็มอี ที่มาเยี่ยมชมด้วยคงคิดช่วยให้กิจกรรมท่องเที่ยว สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีชุมชนบ้านแหลมได้ดำรงอยู่

นายเอ็นนู กล่าวถึงปัญหาด้านการทำอาหารว่า ชุมชนควรหาความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์มาชูเป็นจุดขาย พร้อมแนะนำให้ชุมชนเน้นด้านการท่องเที่ยว สุขภาพอาหารปลอดสารเคมี และวัฒนธรรม มาสื่อสารให้เกิดการเรียนรู้

 

จุดเด่นของการท่องเที่ยวบ้านแหลมอยู่ที่การล่องเรือชมวิถีชีวิตทั้งสองฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือเรียกกันติดปากว่าแม่น้ำท่าจีน ช่วงการล่องเรือนั้นมีการร้องเพลงฉ่อยบอกเรื่องราวชีวิตของสองฝั่งคลองไปด้วย รวมทั้งมัคคุเทศก์ชุมชนเล่าถึงประวัติศาสตร์ของชุมชนริมลำน้ำที่เคยเป็นเส้นทางเสด็จของ ร.5 และสุนทร ภู่ กวีเอกของไทยได้ล่องเรือแต่งกลอนบอกถึงไผ่ริมฝั่งคลอง เล่าถึงวังแม่หม้ายที่สามีไปรบ เป็นต้น

ชุมชนบ้านแหลม เป็นชุมชนเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับร้อยปี ทั้งเคยเป็นเส้นทางเดินทัพอังวะ-มอญ ดังนั้นผู้คนในชุมชนจึงมีความหลากหลาย และมากวัฒนธรรมแบบมอญ ไทย แต่รวมแล้วผู้คนบ้านแหลมมีความสัมพันธุ์กับวิถีชีวิตริมน้ำท่าจีน

 

ปัจจุบันตำบลบ้านแหลมเป็นชุมชนใหญ่มีสมาชิกกว่า 1,200 ครัวเรือน ประชากรกว่า 4,800 คนที่อาศัยอยู่ใน 5 หมู่บ้าน โดยชื่อบ้านแหลม มาจากรูปลักษณ์จั่วบ้านทรงไทยที่ตั้งเรียงรายอยู่สองฝั่งลำน้ำท่าจีน ซึ่งจั่วเป็นทรงสามเหลี่ยมแหลม จึงเรียกบ้านแหลมถึงปัจจุบัน


ติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิสัมมาชีพเพิ่มเติมได้ที่:

 

 

https://www.facebook.com/sammachiv

https://www.facebook.com/chumchonmeedee

https://www.youtube.com/user/RightLivelihoods

Back To Top