skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
เศรษฐกิจท้องถิ่นกับนวัตวิถี

เศรษฐกิจท้องถิ่นกับนวัตวิถี

“คุณสักกฉัฐ ศิวะบวร” ที่ปรึกษาโครงการชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี กรมการพัฒนาชุมชน ได้ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้แก่ผุ้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 จัดโดยมูลนิธิสัมมาชีพ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจท้องถิ่นกับนวัตวิถี” มีสาระน่าสนใจดังนี้

วันนี้ความต้องการซื้อ และใช้สินค้าโอทอปของคนไทยมีมากขึ้นเรื่อยๆ จริงหรือ ท่านซื้อสินค้า โอทอปใช้อยู่แล้วหรือเปล่า แล้วใครใช้ของโอทอป มีแต่ผู้ใหญ่ใจดีใช้งบประมาณช่วยสนับสนุน ผมคิดว่าสิ่งนี้ควรเปลี่ยนแปลง  วันนี้งานของโอทอปการบริโภคภายในประเทศไม่ได้มีเพิ่มขึ้น แล้วเราจะช่วยยังไง ที่ผ่านมาเวลามีงานเราขนชาวชุมชนมาได้ทีละประมาณ 2 พันกว่าราย แล้วอีกเป็นแสนกว่าคน สิบล้านคนจะทำยังไง

สินค้าบ้านเรายิ่งขายไกลบ้านจริงๆ จะยิ่งขายยาก วิถีมันไม่เหมือนกันขนาดฟรียังต้องคิด แล้วถ้าของต้องซื้อเอาตังค์จากกระเป๋าเราจ่ายเรายิ่งคิดหนัก นี่คือปัญหา

ทำไมโอทอปต้องไประดับโลก เพราะในไทยไม่ค่อยมีคนซื้อ แต่เราติดกรอบว่าการค้าต้องทำการส่งออก กระจายสินค้าไปให้ไกลที่สุดจนลืมการบริโภคภายในประเทศวันนี้เราผลิตของดีส่งออกนอกประเทศหมด จะกินของดีๆ ยังหายากเลย

ถ้าเราจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงได้ เราจะต้องมีข้อมูล ต้องมี creative idea แนวทางที่เป็นอะไรที่น่าสนใจ แล้วคุณก็ต้องไม่เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง แต่เอาข้อมูลเหล่านั้นมาหาวิธีการดูว่าทางออกที่น่าจะเป็นไปได้คืออะไรหรือในอดีตเราทำสินค้าในลักษณะแบบชุมชนเป็นผู้ผลิต (Supply push) เราควรต้องหาความต้องการให้เจอ วันนี้เราทำโครงการสารพัดแล้วค่อยไปหาคนซื้อ ไม่แปลก เพราะในอดีตเราถูกฝึกให้คิดแบบนี้ สุดท้ายก็เลยต้องไปตกที่ ทำโปรโมชั่น อย่างนี้เหนื่อย

 

โอทอปนวัตวิถีมีอยู่ 5 เรื่อง แต่วันนี้มันอาจจะเกิดแค่ เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องที่ 4 โครงการนี้เลยต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งกรมการพัฒนาาชุมชนจะต้องผลักดันเรื่องนี้ให้กับเจ้าหน้าที่ของภาคประมาณ 1,000 คน โดยที่งบประมาณก็ยังไม่มี

ตัวอย่างที่ 1) สร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ผมแค่ยกตัวอย่างสนุกๆ ไม่ว่าเด็ก คนทำงาน ผู้สูงวัย รักสวย รักงาม อยากมีสุขภาพแข็งแรง เราถามว่าเรากินกันไหมกล้วยน้ำว้าไปเป็นกล้วยเบรคแตก ผมถึงบอกว่าการบริโภคในประเทศไม่มีเลยหรือ เกิดอะไรขึ้น โอทอปสำหรับชีวิตวัยเด็กไม่มี วัยหนุ่มสาว น้ำผึ้งเดือนห้ามาหยอดกับขนมปังได้ไหม มีอะไรที่มันสั่งซื้อง่ายๆ มันไม่มีเลยหรือ แล้วคุณพ่อ คุณแม่ ผู้สูงวัย ไม่มีสินค้าเลยหรอ งั้นถ้าผมทำกลุ่มสินค้าสุขภาพ ความงามสำหรับสามกลุ่มนี้ขึ้นมาใหม่ตลาดใหญ่ สองแสนล้านนะครับ เรามีโอกาส เรามีวัตถุดิบ แต่เราไม่สามารถเอาเขามาเกลาให้ตรงกับคำว่าร่วมวิถี ร่วมสุข ร่วมสมัย

อันที่ 2) small order program  เมื่อก่อนฮ่องกงยังไมได้อยู่ในแผ่นดินใหญ่ แต่วันนี้ลูกค้าที่เป็น small order ของฮ่องกงมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เมืองไทยพยายามทำแต่ไม่เข้าใจ ฉะนั้นโอทอปนวัตวิถีต้องมีเรื่องนี้

ถัดมา 3) Big Data ใครอยากเป็น SME ใครอยากทำอะไรไหม ของดีๆ อยู่ที่ไหน ไม่รู้เลย จะหาข้อมูล จะซื้อ จะต่อยอดการค้าให้ก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็ตอบไม่ถูก คำว่า Big Data เราหายไป ดังนั้นก็จะต้องมี Platform ที่จะเป็นการให้ข้อมูลเหล่านี้ แบบ Realtime

ข้อที่ 4 เกิดชุมชนท่องเที่ยวที่สร้างรายได้จากสินค้าและบริการ อันนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นของงบประมาณ 9,300 ล้าน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ เพราะว่าพี่น้องชุมชนไม่สามารถมาร่วมงานแสดงสินค้าได้ทุกราย แต่เราใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นวิธีท่องเที่ยวประเภทหนึ่ง เป็นเฟืองขับให้รายได้วิ่งไปหาชุมชนของเขาเอง แต่ต้องมีวิธีการบริหารให้ชุมชนเหล่านี้มีเสน่ห์ เป็นที่ยอมรับ และมีการทำเทรนนิ่งให้พัฒนาการจังหวัด อำเภอ หน่วยงานที่ไปร่วม ก่อนการมอบเงินให้ไปทำการบริหาร กรมการพัฒนาชุมชนทำสัมมนาสามวันก่อนที่จะให้งบประมาณออกไป ถ้าคนไม่รู้เรื่องแล้วเอาตังไปใช้ก็ไม่รอด แต่ก็จะวางตาข่ายดักไว้เป็นระยะๆ ใน 9,300 ล้าน จะต้องทำกิจกรรม ทำการตรวจสอบ อะไรบ้างเพื่อให้เขามีความภาคภูมิใจว่าเขาคือผู้ขับเคลื่อน

ย้อนไปในยุคหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) เป็นยุคของการผลักดันการสร้างผลิตภัณฑ์ออกจากชุมชน เป็นยุคที่เน้นสินค้าเป็นตัวตั้ง ยุคนี้ พยายามผลักดันหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยวไปด้วย ปรัชญา คือหลากเสน่ห์ หลายผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้ทั้ง 8 ด้านของชุมชนดึงดูดผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวเกิดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

เรื่องของโอทอปผู้ใหญ่ใจดีในประเทศเยอะเหลือเกิน ต่างคนต่างช่วยกัน แต่ช่วยแบบไหนไม่รู้มักจะตกกับผู้ประกอบการรายโอทอปนวัตวิถีก็ต้องช่วยทั้งแผ่นดิน ต้องช่วยกันให้ได้ ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย ร่วมสุข คนในชุมชนต้องมีความสุข ที่เน้นคำนี้ ผู้ประกอบการในชุมชน

โอทอปนวัตวิถีคือคนในชุมชน เกิดการท่องเที่ยวชุมชนที่เรียกว่า “แอ่งเล็กเชคอิน” มีการสร้างรายได้ สินค้า มีเสน่ห์เฉพาะตัว เกิดโอกาสเชื่อมโยงของชุมชนกับผู้มาเยือน ฉะนั้น โอทอปนวัติวิถีคือเศรษฐกิจบนฐานความสุข คนในชุมชนไม่จำเป็นต้องออกมาขายของ

ข้อ 5 คือ สถาบันโอทอปนวัตวิถี สถาบันนี้ทำหน้าที่ อบรมราชการ ถ้าเข้าใจไม่ตรงกันจะไปอบรมชุมชนได้ยังไง การทำแบบนี้มีกระบวนการขั้นตอนที่ 1 คือ พื้นฐาน ภูมิปัญญาชุมชน และทรัพยากร รู้จักชุมชนตัวเอง เรามีอะไรที่ดีในชุมชน ขั้นที่ 2 เป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา สร้างรายได้จากผู้มาเยือน สินค้าที่คนจะซื้อกลับเป็นอะไร  ขั้นที่ 3 คือการสร้างรายได้เพิ่มจากสินค้าและบริการท่องเที่ยว มีความสุขในในชุมชนตัวเอง เริ่มมีรายได้และความสุข หาจุดสมดุล

สถาบันโอทอปนวัตวิถี ตั้งใจให้เป็นที่อบรมสำหรับผู้ใหญ่ใจดีทั้งหมด ให้เข้าใจให้ตรงกัน ใครจะทำอะไร ผลักดันไปไหน ควรพาโอทอปนวัตวิถี ไปในสิ่งที่เรียกว่า Blue ocean  การท่องเที่ยวชุมชนเสน่ห์ของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน เข้าใจความต้องการซื้อของผู้คนที่มีกลุ่มแยกย่อย ท่านก็สามารถหาตลาดเฉพาะได้

Back To Top