skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ

เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ

หลักการและเหตุผล

        องค์กรสาธารณกุศลที่ดำเนินงานภายใต้หลักการการสร้าง “สัมมาอาชีวะ” ด้วยกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการบูรณาการความร่วมคือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม โดยนำความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถและทรัพยากรไปร่วมสนับสนุนสร้างวิสาหกิจในระดับชุมชนมูลนิธิสัมมาชีพ มุ่งทีจะเสริมสร้างความสามารถในการประกอบอาชีพควบคู่ไปกับบริหารรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้เป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ก่อนให้เกิดภาระทางสังคม และทำลายสิ่งแวดล้อม

หลักเกณฑ์การตัดสิน

เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ

       เป็นความริเริ่มของมูลนิธิสัมมาชีพ เพื่อส่งเสริมและยกย่อง SME ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพด้วยความสุจริต มีคุณธรรม สร้างคุณประโยชน์ ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ 4 ด้านได้แก่

  1. เกณฑ์สัมมาชีพ
  2. เกณฑ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
  3. เกณฑ์ธรรมาภิบาล
  4. เกณฑ์ความสามารถทางธุรกิจ

คุณลักษณะ SME สัมมาชีพ
เกณฑ์สัมมาชีพ : เป็นกิจการที่ประกอบการบนพื้นที่ของสัมมาอาชีวะ(ไม่ประกอบมิจฉาอาชีวะ 5 ประการ)
เกณฑ์ความรับผิดชอบต่อสังคม : มีกิจกรรมที่มีส่วนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคม รวมถึงการดำเนินกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสำคัญ
เกณฑ์ธรรมาภิบาล : มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ(บัญชีเล่มเดียว)
เกณฑ์ความสามารถทางธุรกิจ : มีผลประกอบการที่เป็นกำไร ติดต่อกันสองรอบบัญชีล่าสุด

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  • เปิดรับ SME เข้าร่วมโครงการ
  • คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก
  • ประกาศรายชื่อ SME ที่ได้รับการพิจารณา และพิธีมอบรางวัล

มูลนิธิสัมมาชีพ
      เปิดรับ SME ที่สนใจเข้าร่วมรับการพิจารณารางวัล SME สัมมาชีพแห่งปี โดย SME ที่ได้รับรางวัล มีโอกาสในการเข้าร่วมในเครือข่าย SME สัมมาชีพและร่วมดำเนินงานกับชุมชนที่ SME ประกอบการอยู่ในพื้นที่ ในการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการมูลนิธิสัมมาชีพ

คณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจ     
  1. ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน
  2. ดร.ณพพงศ์ ธีระวร กรรมการ
  3. ดร.กรัณย์ สุทธารมณ์ กรรมการ
  4. คุณมนทิรา เข็มทอง กรรมการ
  5. คุณลดาวัลย์ กันทวงศ์ กรรมการ
  6. คุณอิทธิพันธ์ อมรอรรถโกวิท กรรมการ
  7. คุณอาทิตย์ เคนโสม กรรมการ
  8. คุณภูมิพันธ์ บุญมาตุ่น กรรมการ
  9. คุณพิสาร หมื่นไกร กรรมการเลขานุการ

เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ

รายชื่อประเภทธุรกิจที่อยู่
   1.  บริษัท  กาแฟวาวี จำกัด  แปรรูปผลผลิตการเกษตรและกิจการเครื่องดื่ม– ผลิตและจำหน่ายกาแฟ   183/2 หมู่ 6 ต.ฟ้าฮ่ามอ.เมือง จ.เชียงใหม่  
  2.  บริษัท กรีนโกรทออร์แกนิค จำกัด      การแปรรูปผลผลิตการเกษตร - ข้าวอินทรีย์ ถั่วเขียว และยาสระผม18/8 หมู่ที่ 7 ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
  3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน  ค้าเส้นไหม อุปกรณ์สำหรับการทอผ้าไหม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรังไหม   162 ถ.จิตรบำรุง ต.ในเมือง   อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
  4.  บริษัท ที เจ เฮ้าส์ จำกัดแปรรูปผลผลิตการเกษตร - เครื่องสำอางจากโปรตีนรังไหม418/3 ถ.ศรีสวัสดิ์ดำเนิน   ต.ตลาด อ.เมือง  จ.มหาสารคาม 
องค์กร

บริษัท กาแฟวาวี จำกัด
ที่ตั้งบริษัท

183/2 หมู่ 6 ต.ฟ้าฮ่ามอ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประเภทธุรกิจ

แปรรูปผลผลิตการเกษตรและกิจการเครื่องดื่ม– ผลิตและจำหน่ายกาแฟ
ลักษณะเฉพาะบริษัท กาแฟวาวี จำกัด เป็นตัวอย่างของการพัฒนากิจการตามศักยภาพของห่วงโซ่อุปาทานการผลิตกาแฟ ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับการส่งเสริมในพื้นที่สูง การจัดการอาชีพสำหรับชนเผ่า/ชนกลุ่มน้อย ไปสู่พัฒนา Product เป็น Brand ของกาแฟ ที่เจาะจงถึงถิ่นกำเนิด (แหล่งปลูก) ในขณะเดียวกันก็พัฒนาการปลูกแบบ Organic
การสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับชุมชนบริษัท รับซื้อวัตถุดิบจากชุมชนและจ้างแรงงานในชุมชนคัดแยกเมล็ด และการแปรรูปโดยรับซื้อเมล็ดกาแฟจากสมาชิกเกษตรกร 56 ครัวเรือน ซึ่งปริมาณผลผลิตที่รับซื้อในปี 2559 ประมาณ 50 ตัน มีพื้นที่ปลูกประมาณ 336 ไร่ (เฉลี่ยผลผลิต 1ตันต่อไร่) สมาชิกมีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 6 ไร่ ต่อครัวเรือน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไร่ละ 12,500 บาท มีรายได้เฉลี่ยปีละ 75,000 บาท/ครัวเรือน ดังนั้น ปี 2559 บริษัทสร้างรายได้ให้กับสมาชิกชุมชนทั้งสิ้น 4,200,000 บาท การจ้างงานจะมี 2 รูปแบบ หนึ่ง จ้างแรงงานเพื่อคัดเมล็ดกาแฟ ดูแลสวน และโรงงานในช่วงการผลิต 3 เดือน จำนวน 20 คน ๆละ 200 บาทต่อวัน จะเป็นรายได้ต่อคนเดือนละ 6,000 บาท (18,000 บาทต่อคนต่อฤดูการผลิต) สอง จ้างเป็นพนักงานประจำ 3 คน เดือนละ 12,000 บาท(144,000 บาท ต่อคน/ปีและรวม 3 คน เป็นเงิน 432,000 บาทต่อปี) หลังฤดูการเก็บเกี่ยวทุกปี จะมีเงินสวัสดิการสำหรับผู้ที่รักษามาตรฐานการเก็บเมล็ดกาแฟกิโลกรัมละ 2 บาท การส่งเสริมสนับสนุนในด้านความรู้ ส่งเสริมการทำปุ๋ยอินทรีย์ จากเปลือกกาแฟมาผ่านกระบวนการหมักทำปุ๋ยอินทรีย์พร้อมมูลไส้เดือนนำไปใส่ในไร่กาแฟอีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนการปลูกให้กับสมาชิกส่งเสริมสนับสนุนการปลูกกาแฟ Organic ถือได้ว่า บริษัท กาแฟวาวี จำกัด เป็นบริษัทเอกชนขนาดเล็กหรือ Small Business ที่นำเอาแนวคิดว่าด้วยการจัดการแบบเกษตรอินทรีย์มาประกอบเป็นกลยุทธ์สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการตลาดให้กับบริษัท พร้อมๆไปกับการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจคู่ขนานไปกับการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่บนดอยสูง – เป็นกิจการประเภทหนึ่งของ Social Entrepreneurship
จุดที่ควรพิจารณาตลาดกาแฟในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง การสร้างแบรนด์กาแฟทั้งการตลาดผู้บริโภค จะมีความจำเป็นสูงมาก ดังนั้น จุดที่อ้างอิงแหล่งกำเนิด การสร้างความเชื่อมโยงกับชุมชนและการเกษตรบนพื้นที่สูงการปลูกและผลิตกาแฟแบบอินทรีย์ จะเป็นหนึ่งในมาตรการของการสร้างความโดดเด่นของแบรนด์
ข้อแนะนำสำหรับโครงการเพื่อการสร้างเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ – การสร้างเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง เกษตรอินทรีย์ และตัวอย่างของการนำเอาเรื่องเพื่อสังคมมาใช้เป็นความสามารถทางการแข่งขันในการสร้างตลาดเพื่อผู้บริโภค


ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์บนที่ราบสูง
บริษัท  กาแฟวาวี จำกัด         

การวิเคราะห์ “ธุรกิจ” ของบริษัทกาแฟวาวีจำกัด  

Social Purpose Project Activities Process Output Outcome/ Impact
เกษตรบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่เคยมีประเด็นปัญหาการนับรวมเป็นสังคม ตั้งแต่เรื่องของสัญชาติ การค้ายาเสพติด การปลูกพืช/อาชีพทดแทน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการยอมรับทางสังคม ฯลฯ

การปลูกกาแฟ ยังเป็นกระบวนการผลิตแบบใช้ปุ๋ยเคมี ยังไม่มีศูนย์เรียนรู้ แบบการเกษตรอินทรีย์ ในขณะเดียวกันก็ยังประสบปัญหาจากภัยแล้ง
 

 

บริษัทกาแฟวาวี จำกัด มีผลิตภัณฑ์ คือ เมล็ดกาแฟแปรรูป และการเปิดร้านจำหน่ายกาแฟชงพร้อมดื่ม

ส่งเสริมและรับซื้อเมล็ดกาแฟจากสมาชิกเกษตรกร 56 ราย ได้ผลผลิตเฉลี่ยปี 2559 ประมาณ 50 ตัน

ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ให้มีการปรับวิธีการปลูกกาแฟ เป็นกาแฟ Organic เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และรับซื้อในราคาที่สูงกว่ากาแฟทั่วไป

ดำเนินกิจการสนับสนุนชุมชนบนพื้นที่สูงด้วยงานแบบอินทรีย์พร้อมกับการสร้าง Brand ต่อผู้บริโภคในเมืองลักษณะการตลาด
1) ขายส่งในประเทศ
2) ส่งออกไปต่างประเทศ 3) สร้าง Brand

ส่งเสริมเกษตรกรเครือข่ายสมาชิกจำนวน 56 ราย พื้นที่รวมโดยประมาณ 336 ไร่ เฉลี่ยคนละ 5-10 ไร่ ต่อคนให้ปรับเปลี่ยนการปลูกจากการใช้สารเคมีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไร่ละ 12,000-13,000 บาท ต่อปี โดยยังมีเงินย้อนหลังเป็นสวัสดิการสำหรับผู้ที่รักษามาตรฐานการเก็บเมล็ดกาแฟกิโลกรัมละ 2 บาท การสร้างงานทางตรงให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง 56 ราย (ครัวเรือน) สร้างงานโดยการจ้างแรงงาน 23 คน

ปรับเปลี่ยนการปลูกกาแฟแบบอินทรีย์เพื่อสร้างเป็นความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งชาวไร่กาแฟ และบริษัทวาวี

 

 

 

จ้างแรงงานในชุมชนภายหลังฤดูการเก็บเกี่ยว 20 ราย วันละ 200 บาท จ้างแรงงานในชุมชนเป็นพนักงานประจำ 3 ราย เดือนละ 12,000 บาท

กระบวนการคัดเมล็ดต้องใช้คนงานคัดด้วยมือและส่งขายที่บริษัทอยู่จังหวัดเชียงใหม่

ผลประกอบการ ณ.ปี 2559

39,217,570.83 บาท

ผลกำไรสุทธิ 2,819,325.47 บาท

จัดทำศูนย์เรียนรู้ (เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการปลูก) นำเปลือกกาแฟมาผ่านกระบวนการหมักทำปุ๋ยอินทรีย์พร้อมมูลไส้เดือนนำไปใส่ในไร่กาแฟอีกครั้ง
ขยายการปลูกไปจังหวัดเชียงใหม่ในรูปของตัวแทนได้แก่ ออมก๋อยและสะเมิง เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต
ได้มาตรฐาน USDA,EU, AUO ปัจจุบัน บริษัทส่งกาแฟไปยังประเทศญี่ปุ่น
6.5 ตัน/ปี

บริษัท กรีนโกรทออร์แกนิค จำกัด

องค์กร บริษัท  กรีนโกรทออร์แกนิค จำกัด จังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้งบริษัท 18/8 หมู่ที่ 7 ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ประเภทธุรกิจ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร – ข้าวอินทรีย์ ถั่วเขียว และยาสระผม
ลักษณะเฉพาะ บริษัท กรีนโกรออร์แกนิค จำกัด เป็นกิจการที่สร้างตัวจากเครือข่ายการเกษตรแบบอินทรีย์ ให้ความสำคัญต่อมาตรฐานอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศเป็นกิจการของปัญญาชนคนรุ่นใหม่ จบการศึกษาปริญญาโท เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำงานในระบบและเมืองใหญ่ ไปสร้างเศรษฐกิจใหม่ร่วมกับผู้คนในชุมชนบ้านเกิดของตนที่จังหวัดอุทัยธานี

เป็นการประกอบการรูปแบบบริษัท ไปเชื่อมโยงการผลิตของเกษตรกรที่ยินดีร่วมเป็นผู้ผลิตสนับสนุนวัตถุดิบ โดยการขาย ในราคาที่เป็นธรรมกับทางบริษัท

การสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับชุมชน บริษัทกรีนโกรทออร์แกนิค จำกัด สนับสนุนและรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกเครือข่ายเกษตรกร 6 ราย จากการทำนาจำนาวน 150 ไร่ โดยมีการกำหนดปริมาณและประกันราคาการรับซื้อสูงกว่าท้องตลาดเพิ่มอีก 1 เท่าตัว (โดยเฉลี่ยในปี 2559 รับซื้อข้าวเปลือกอินทรีย์ราคาตันละ 15,000 บาท) ในขณะที่ราคาท้องตลาดทั่วไป อยู่ที่ตันละ 7,500 บาท สร้างเครือข่ายผู้ปลูกพืช ผลไม้ที่เป็นวัตถุดิบสำหรับใช้ทำยาสระผมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท คือ มะกรูด 15 ราย,ดอกอัญชัน  2  ราย การทำงานของบริษัท มุ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์การเรียนรู้ แนะนำ และขยายตัวเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์
จุดที่ควรพิจารณา การประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการในระดับชุมชนที่เป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวโน้มเชิงบวกของกระแสตลาด  เป็นทุนที่สังคมในชนบทเคยมีและถูกมองข้ามไป ได้ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และสามารถประกอบการเป็นอาชีพได้ เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการผลิตจากระบบเคมีมาเป็นระบบอินทรีย์ของชุมชน
ข้อแนะนำสำหรับโครงการเพื่อการสร้างเศรษฐกิจชุมชน ต้นแบบ – ศูนย์กลางการพัฒนาเป็นเครือข่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์

การวิเคราะห์ “ธุรกิจ” ของบริษัท กรีนโกรทออร์แกนิค จำกัด

Social Purpose

Project Activities Process Output

Outcome/Impact

การทำเกษตรแบบเคมี ทำให้เกษตรอ่อนแอลง ทั้งในการจัดการต้นทุน ละทิ้งกระบวนการรวมกลุ่ม และเมื่อประสบภาวะการผันผวนของราคา จึงไม่สามารถจะรองรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้ ผลที่เกิดขึ้นแบบคู่ขนานของการใช้สารเคมี คือ ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค (ความเกี่ยวข้องของชนบทและเมือง)

 

บริษัท กรีนโกรทออร์แกนิค สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยระบบอินทรีย์มาตรฐาน

สร้างเครือข่ายการจัดการวัตถุดิบที่เป็น มะกรูด  ใบย่านาง  ดอกอัญชันกระเจี๊ยบแดง และถั่วเขียวเพิ่มเติมจากเครือข่ายผู้ปลูกข้าวในเขตอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานีจำนวน 6 ราย ในพื้นที่ปลูกข้าวออร์แกนิค จำนวน 150 ไร่
การจัดการการผลิตและการขายสินค้าอินทรีย์ จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถประมาณการราคาเพื่อการต่างๆได้ จึงทำให้บริษัทสามารถแจ้งราคารับซื้อกับเกษตรกรได้มากกว่าราคาทั่วไปมากถึง 1 เท่าตัว

การผลิตข้าวอินทรีย์ จะมีขั้นตอนการตรวจสอบและมีการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ในประเทศไทย และ มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices)

บริษัทได้รับการรับรอง มาตรฐาน 0rganic Thailandซึ่งจะคลอบคลุมมาตรฐานต่าง ๆ เช่น GAP ,GMP ,HACCP.CoC,เกษตรอินทรีย์ และได้รับการรับรอง มาตรฐาน EU GAP

โดยที่กระบวนการส่งเสริมการปลูกพืช ผลไม้ต่างๆของบริษัทก็จะดำเนินไปตามเกณฑ์มาตรฐานนี้

ปี 2559 บริษัท มียอดขาย 2 ล้านบาทมีกำไร 297,788.33.บาท

โดยบริษัทมีความประสงค์จะจัดการตามแนวทางของบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม (ตามประมวลรัษฎากร) ที่ให้นำเอากำไรไปส่งเสริมการลงทุนสำหรับสมาชิกและชุมชน 70% และปันผลผู้ถือหุ้น 30 %

ในปี 2559 การผลิตสินค้าตามระบบเครือข่ายอินทรีย์กับบริษัท สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายแบบทั่วไปอีกเท่าตัวคิดเป็น  557,800 บาท

ตัวอย่างของการประกอบการในระดับชุมชนที่คำนึงถึงการจัดการแบบอินทรีย์ /ไม่ใช้เคมี

สร้างรายได้ให้กับสมาชิก 6 ราย เป็นเงิน 557,800 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจาก “งานมาตรฐาน/อินทรีย์”

เป็นตัวอย่างของการริเริ่มการประกอบการ การพึ่งตนเอง ด้วยการจัดการวิถีการผลิตแบบใหม่ –เป็นกรณีศึกษาของ Disruptive Innovation

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน

องค์กร ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน
ที่ตั้งบริษัท เลขที่ 162 ถ.จิตรบำรุง ต.ในเมือง   อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ประเภทธุรกิจ ค้าเส้นไหม อุปกรณ์สำหรับการทอผ้าไหม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรังไหม
ลักษณะเฉพาะ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน ที่ต่อยอดการเติบโตจากธุรกิจครอบครัวในระดับท้องถิ่น ตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำรงไว้ซึ่งวิถีการผลิตและเศรษฐกิจของ การเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและสังคมของคนอีสานใต้ ร้านในเมืองเป็นตัวแทนค้าส่งอุปกรณ์การทอผ้าไหม มีโรงงานสาวไหมที่นิคมพัฒนาสร้างตนเองที่กาบเชิง (ผลิตเส้นไหม ย้อมไหม คัดแยกวัตถุดิบเพื่อการใช้ประโยชน์จากรังไหมเพื่อการอื่นๆ)  มีโรงงานขนาดย่อมเล็กๆในหมู่บ้านกระทม 2 แห่ง เป็นโรงงานสาวเส้นยืน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมทองบ้านกระทม ตั้งอยู่ที่สวนหม่อนและศูนย์เรียนรู้ถือได้ว่า เป็นผู้สร้างงานในระดับท้องถิ่น มีการจ้างงานในโรงงาน มีการเชื่อมโยงงานโรงงานกับการใช้ชีวิตประจำวันของชุมชน (ทั้งแบบชุมชนซื้ออุปกรณ์ไปเป็นเครื่องมือในครัวเรือน และที่ หจก.นำไปตั้งโรงงานในชุมชน)
การสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับชุมชน
  1. ธุรกิจการขายอุปกรณ์การทอผ้าไหม ทำหน้าที่สนับสนุนเครื่องมือการผลิตให้กับชุมชนในภาคชนบทให้สามารถประกอบการมอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริมได้ทำให้ชุมขนมีรายได้จากส่วนนี้เพิ่มขึ้นนอกจากทำนา เช่น บ้านประทุน ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ สมาชิกทอผ้า 70 คน มีรายได้จากการทอผ้าโสร่ง เดือนละ 5ล้านบาท
  2. การสร้างโรงงานที่กาบเชิง ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน จำนวน 30 คน และสนับสนุนให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในท้องถิ่น 210 ราย (ไม่รวมกรณีของการตั้งโรงงานขนาดเล็กๆในชุมชน) โดยที่กรมหม่อนไหมเพาะเลี้ยงลูกไหมพันธุ์ดีส่งขายให้สมาชิก โรงงานรับซื้อรังไหมกลับ และส่งต่อให้กลุ่มทอผ้าไหมและโรงงานสาวเส้นไหม
  3. กรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน เป็นตัวอย่างของการประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไร แต่เป็นกิจการรายย่อยที่มีลักษณะของสร้างการขยายตัวของกิจการไปพร้อมๆกับการขยายตัวของวัตถุดิบ แรงงาน และการจัดการสนับสนุนในระดับชุมชน
จุดที่ควรพัฒนา
  1. การเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์การทอผ้าไหม ที่เป็นอยู่ยังเป็นหน้าที่เบื้องต้นของการซื้อมาขายไป (คนกลาง)
  2. การจัดการวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนต่อโรงงานสาวไหมที่กาบเชิง จำนวน 210 ราย  ยังเป็นไปตามระบบของ “โรงงานลูกไร่” แบบทั่วไป
ข้อแนะนำสำหรับ โครงการเพื่อการสร้างเศรษฐกิจชุมชน ต้นแบบ –Social Entrepreneurship ของวิสาหกิจครัวเรือน และการขยายบทบาทเพื่อสังคมในระดับชุมชน

การวิเคราะห์ “ธุรกิจ” ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน

Social Purpose Project Activities Process Output

Outcome /Impact

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม การทอผ้าไหม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดของหม่อนไหมแม้ว่าจะการส่งเสริมจากภาครัฐ ก็ยังไม่เพียงพอ

ชุมชนในภาคอีสานตอนใต้ ยังปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตามวิถีการผลิตแบบเดิม – ทั้งๆที่การตลาดพัฒนาไปจากวิถีทางสังคมวัฒนธรรมแบบเดิมไปสู่การตลาดโดยสมบูรณ์แล้ว

 

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนไหมใบหม่อน เป็นธุรกิจภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ในบทบาทต่างๆ ดังนี้

  1. เป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และเส้นไหม ซึ่งเป็นธุรกิจเดิม
  2. จัดตั้งโรงงานสาวไหม ย้อมเส้นไหม คัดแยกวัสดุสำหรับการใช้ประโยชน์จากไหมและรังไหม
  3. จัดตั้งโรงงานขนาดเล็กๆเพื่อทอผ้าไหมในชุมชน

 

 

ผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเส้นไหมเป็นศูนย์การจำหน่ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยอดขายปี 2559ได้ 11ล้านบาท มีกำไร 3 ล้านบาท ทำให้ชุมชนมีเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับทอผ้าไหม ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เพิ่ม (และพัฒนาเป็นกิจการในรูปแบบอื่นได้อีก) เช่น ที่บ้านประทุน ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ สมาชิกทอผ้า 70 คน มีรายได้จากการทอผ้าโสร่ง เดือนละ 5 ล้านบาท
โรงงานสาวไหม ย้อมเส้นไหม และคัดแยกวัสดุที่นิคมกาบเชิงโรงงานนี้ต้องใช้เส้นไหมผลิตเส้นยืนเดือนละ 2 ตัน(ชุมชนในพื้นที่สนับสนุนวัตถุดิบได้ 0.8 ตัน ต้องนำเข้าเส้นไหมจากบริษัทจุลไหมไทย จ.เพชรบูรณ์)

 

มีการจ้างแรงงานทำงานสาวไหมและย้อมที่โรงงาน 45คน รวมทั้งการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นเครือข่ายแบบลูกไร่ 210 คน

ยอดขาย ปี 2559ได้ 3ล้านบาท (เป็นฝ่ายผลิตผลกำไรจะรวมอยู่ที่ศูนย์จำหน่าย)
จ้างแรงงาน 45คน มีรายได้โดยเฉลี่ยคนละ 9,013 บาทต่อเดือน
สร้างอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 210 คน มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 11,500 บาท ต่อเดือน
โรงงานย่อยในชุมชนเพื่อขึ้นเส้นยืน ทอผ้า จำนวน 43 คน มีรายได้เฉลี่ยคนละ 8,000 บาท ต่อเดือน

มีรายได้เฉลี่ยคนละ 5,000 บาท ต่อเดือน

เครือข่ายการทอผ้าไหมในชุมชน (กิจการในครัวเรือน –ทำงานยามว่าง) จำนวน 26คน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากวิสาหกิจปลูกหม่อน-เลี้ยงไหม

  1. พัฒนาเป็นเครื่องสำอาง สบู่ เซรั่มบำรุงผิวบำรุงหน้า
  2. ดักแด้กระป๋อง

ความร่วมมือเครือข่ายองค์กรเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ

  1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมทำ MOU กับนิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหม(ในพระบรมราชานุเคราะห์) และสนับสนุนงบประมาณสร้างโรงงานใหม่ 29ล้านบาท
  2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ประเทศไทย) ให้ความรู้เรื่องอุตสาหกรรมเส้มไหม
  3. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ช่วยทำวิจัยเรื่องผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  4. อุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ ให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการบ่อบำบัด
  5. พัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP
  6. สำนักงานพาณิชจังหวัด ช่วยอบรมเรื่องการตลาด
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับไหม
  8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ช่วยเหลือเรื่องการตลาดและ E-Commerce
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ช่วยเหลือเรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

บริษัท ที เจ เฮ้าส์ จำกัด

องค์กร บริษัท ที เจ เฮ้าส์ จำกัด
ที่ตั้งบริษัท 418/3 ถ.ศรีสวัสดิ์ดำเนิน   ต.ตลาด อ.เมือง  จ.มหาสารคาม      
ประเภทธุรกิจ แปรรูปผลผลิตการเกษตร – เครื่องสำอางจากโปรตีนรังไหม
ลักษณะเฉพาะ ลักษณะของธุรกิจ เป็นเครื่องสำอางจากโปรตีนรังไหมที่สร้างเป็นNew Product โดยการคิดค้น และพัฒนาเป็นงานวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (สถาบันการศึกษาและการวิจัยในระดับท้องถิ่น) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สถานการณ์วิจัยระดับชาติ)บริษัท ที เจ เฮาส์ จำกัด (ผู้ประกอบการในท้องถิ่น) และการริเริ่มที่จะสร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้เลี้ยงไหมในระดับชุมชน จำนวน 42 ครัวเรือน ที่หมู่บ้านบ้านหนองบัวแปะ ต.ขามเรียน อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เป็นตัวอย่างของกิจการที่ริเริ่มจากการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่โยงเข้ากับการสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนภาคเกษตร-ชนบท ที่สร้างขึ้นจากผลงานวิจัยทางวิชาการ มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ สอดคล้องกับความนิยมทางการตลาดที่ต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องสำอางจากการผสมสารเคมีเป็นสมุนไพร รวมทั้งจัดองค์กรแบบความร่วมมือ
การสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับชุมชน ส่งเสริมการสร้างการประกอบการธุรกิจใหม่ ประเภทเครื่องสำอาง เป็นธุรกิจแขนงใหม่ในจังหวัดมหาสารคาม ในขณะเดียวกัน ก็จะส่งเสริมและพัฒนาความรู้เรื่องการเลี้ยงไหม ให้กับกลุ่มเกษตรกรโดยเลี้ยงแบบโตเร็ว เพื่อขาย “รังไหมปาด”กก. ละ 800 – 1,500  บาท จะทำให้เกษตรกรใช้เวลาต่อการผลิตที่เร็วกว่าเดิม และสามารถจะขายรังได้ทุกประเภท ทุกกรณี (หากขายเพื่อสาวไหม – รังแฝด จะไม่มีราคา)
จุดที่ควรพัฒนา การริเริ่มการผลิตเครื่องสำอางบำรุงผิว COCOON สบู่ และแป้งผงไหม ปรากฏว่าได้รับการตอบสนองจากตลาดเป็นอย่างดี ในขณะที่บริษัท ที เจ เฮ้าส์ จำกัด ซึ่งมีกิจการส่งเสริมการวัสดุทางการเกษตรกับเกษตรกร มีความใกล้ชิดกับการส่งเสริมเกษตรผู้เลี้ยงไหมดังนั้น ในเบื้องต้นควรจัดระบบการบริหารจัดการให้มีการวางแผนการตลาด การผลิต และการสนับสนุนวัตถุดิบ ให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความร่วมมือของชุมชน ซึ่งจะมีจุดเด่นตรงที่ใช้เวลาการเลี้ยงสั้นกว่า สร้างรายได้ต่อรอบได้มากกว่า และสามารถใช้ประโยชน์จากรังไหมทุกขนาดทุกประเภท ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่างไปจากการเลี้ยงเพื่อการผลิตเส้นไหม (และจะปะทะกับความคิดของชุมชนที่เคยเลี้ยงเพื่อธุรกิจสาวไหม-เส้นไหม-ผ้าไหม)
ข้อแนะนำสำหรับโครงการเพื่อการสร้างเศรษฐกิจชุมชน ต้นแบบ – การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่/ตลาดใหม่ของผลิตภัณฑ์รังไหม ซึ่งจะขยายการเลี้ยงไหมเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่ผ้าไหม

ข้อสังเกต  การให้รางวัลประเด็นเครื่องสำอางรังไหม พัฒนาโครงการในตัวเครื่องสำอาง และกลุ่มผู้เลี้ยงไหม

การวิเคราะห์ “ธุรกิจ” ของบริษัท ที เจ เฮ้าส์ จำกัด

Social Purpose Project Activities Process Output Outcome Impact
จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการประกอบอาชีพการเลี้ยงไหม และการทำผลิตภัณฑ์จากไหม

ที่ผ่านมาเกษตรกรก็มีการเลี้ยงไหม และแปรรูปเป็นเส้นไหมขาย และแปรรูปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ในขณะที่การเลี้ยงไหม เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญ แต่กลับมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และการพัฒนาการผลิตเลี้ยงไหม ไม่มากนัก

บริษัท ทีเจ เฮ้าส์ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดย ดร.วัลยา สุทธิขำ ซึ่งมีประสบการจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่องเทคโนโลยีการเลี้ยงไหม

พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากโปรตีนไหมเป็นเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพ เป็นสมุนไพร ลดการใช้สารประกอบที่เป็นเคมีในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

สร้างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ COCOON พร้อมทั้งสบู่ และแป้งผงไหม

ส่งเสริมให้เกษตรเลี้ยงไหมแบบใหม่

บริษัท ทีเจ เฮ้าส์ ซึ่งมีกิจการที่เกี่ยวข้องเรื่องการเกษตรกร จึงร่วมมือกับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การผลิตสินค้าในปัจจุบัน ยังเป็นช่วงเริ่มต้น ยังใช้วิธีจ้างโรงงานผลิตตามออร์เดอร์ที่มี

ส่งเสริมเกษตรกรรวมกลุ่มเลี้ยงไหมเช่น เลี้ยงจากอาหารแทนใบหม่อน ซึ่งสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงไหม และระยะเวลาลงไป เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้มากขึ้น

บริษัทมียอดขายจากสินค้าในปี 59 จำนวน 100,000 บาท มีกำไร 50,000 บาท

สร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงไหม บ้านหนองบัวแปะ เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 12,000 บาท/เดือน

(ขายให้บ.ที เจ เฮ้าส์ แค่บางส่วน)

นอกจากจะเป็นธุรกิจใหม่ในพื้นที่และในอุตสาหกรรมหม่อนไหมแล้วธุรกิจนี้ยังถือว่าเป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพลดสารเคมีในเครื่องสำอาง

 

เปรียบเทียบกับการทำนาข้าวการเลี้ยงไหมจะทำให้เกษตรมีรายได้ที่สูงกว่าการทำนา เท่าตัว

Back To Top