skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
บทที่ 6 ยิ้มกับปัญหา : ดร.สมฤดี ศรีจรรยา

บทที่ 6 ยิ้มกับปัญหา : ดร.สมฤดี ศรีจรรยา

“ใครก็ตามที่ออกจากบ้านแล้วไม่ยิ้ม…ก็เหมือนแต่งตัวยังไม่เสร็จ ภาพไม่เรียบร้อยใครเห็นก็ดูไม่สบายตา… ไม่สบายใจ…”

 

ยิ้มกันหรือยังจ๊ะ!

            รอยยิ้มป็นอาวุธสำคัญ จะทำให้คนรัก คนโกรธ คนพอใจ หรือไม่พอใจก็ตรงยิ้มนี่แหละ เพราะบางคนยิ้มไม่เป็น เวลายิ้มเหมือนเย้ยหยัน ยิ้มอย่างไม่เต็มใจ ยิ้มแบบเสียไม่ได้ หรือยิ้มผิดจังหวะ ทำให้โกรธกันเสียนักต่อนัก เพราะนึกว่ายิ้มยิ้มซ้ำเติมสมน้ำหน้า

 

แค่ยิ้มก็ได้กำไรแล้ว

            ในธุรกิจการค้าการยิ้มคือ การลงทุนที่ต่ำที่สุด ไม่ต้องเสียอะไรเลย

บริษัทระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จมาก คือแบรนด์จีออร์ดาโน เป็นสินค้าเอเชียทำจากฮ่องกง จากร้านค้าเล็กๆ สามารถไต่เต้าขึ้นมาเป็นแฟรนไชส์ดังระดับเอเชีย เพราะจุดขายที่สำคัญคือรอยยิ้มและการต้อนรับของพนักงาน ที่เข้าจ้างมืออาชีพมาสอน มาฝึกเรื่องการยิ้ม การต้อนรับ การเอาใจใส่ลูกค้า บริษัทถือเป็นเคล็ดลับอันดับหนึ่งแห่งความสำเร็จที่ไม่เหมือนใคร

บริษัทในอเมริกาที่โด่งดังมากในเรื่องนี้คือนอร์ดสตอม เป็นห้างสรรพสินค้าขายเสื้อผ้าที่ลูกค้าชอบมากที่สุด เพราะนโยบายเดียวกันคือรอยยิ้ม ความสุภาพของพนักงานขายที่ถูกอบรมมาอย่างดีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขาเติบโต ขายดิบ ขายดี

 

ทักษะในการแก้ปัญหาคือความเก่งที่ต้องฝึก

            สิ่งที่เป็นหนึ่งในความสามารถที่จำเป็นของผู้จะก้าวสูงขึ้นไประดับบังคับบัญชาระดับผู้จัดการ คือความสามารถในการตัดสินใจ การปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องมีการฝึกฝน ต้องผ่านประสบการณ์ การแก้ปัญหามามากๆ ยิ่งผ่านประสบการณ์มามากเท่าไร ความเฉียบคมในการแก้ปัญหา และตัดสินใจก็จะยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น

เหมือนนักกีฬา นักเทนนิส นักดาบ ยิ่งต้องผ่านยอดฝีมือระดับสูงเท่าไร ก็แสดงถึงความเก่งกาจมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเจอคนเก่งกว่า การคิดแก้ปัญหาการใช้ความสามารถก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเพียงนั้น

ความเป็นเลิศเกิดจากการฝึกฝนเท่านั้น

นักบริหารมือใหม่หรือผู้เริ่มต้นเป็นผู้บังคับบัญชา สิ่งแรกที่จะทำให้ปวดหัวก็คือการฟังปัญหาต่างๆ จากผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องคน เรื่องนิสัยคน พฤติกรรมของคน

อย่างที่ตำราเขียนไว้ “All Problems Are Human Problems” ไม่มีปัญหาใดจะพ้นเรื่องคนไปได้

 

เทคนิคการแก้ปัญหาแบบมืออาชีพ

ในตำราที่มีชื่อเสียงของ Kepner Tregore ปรมาจารย์ทางการบริหารชื่อ The Rational Manager ได้กล่าวถึง หลักของการวิเคราะห์ปัญหา ว่าแยกได้เป็น 3 หัวข้อด้วยกันคือ

  1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) กล่าวถึงเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา การตั้งคำถาม ซักไซ้ไล่

เรียงเรื่องราวโดยละเอียด หาจุดเปลี่ยนแปลง จุดที่ทำให้เกิดปัญหา ปัญหาอยู่ตรงไหน สาเหตุมาจากอะไร

  1. การวิเคราะห์การตัดสินใจ (Decision Analysis) กล่าวถึง หลักการตัดสินใจว่า หลังจากที่รู้ปัญหาแล้ว มี

ทางเลือกให้ตัดสินใจกี่ทางด้วยกัน ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และสุดท้ายทางเลือกไหนดีที่สุด เสียหายน้อยที่สุด ได้ประโยชน์มาที่สุด

  1. การวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดในอนาคต (Potential Problems Analysis) หลังจากตัดสินใจไปแล้ว จะ

เกิดผลกระทบอะไรบ้าง เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อาจจะเกิดปัญหาสืบเนื่องอะไรบ้าง แล้วก็วนกลับมาเข้าขบวนการวิเคราะห์ปัญหา แล้วตัดสินใจใหม่

ในชีวิตจริงเราสามารถฝึกฝนการตัดสินใจนี้เองได้ สิ่งแรกที่ต้องทำก็คืออย่ากลัวปัญหา เห็นปัญหาแล้วต้องยิ้ม จากนั้นก็ใคร่ครวญ ลองใช้สติปัญญา บางครั้งก็ใช้เวลาอดทน รอคอย ค่อยๆ คิด และคำตอบก็จะออกมาเอง

 

“คำสอนพระพุทธเจ้าท่านวิเศษนัก ท่านสอนว่าให้

  1. วิเคราะห์ปัญหา คือ ทุกข์
  2. หาสาเหตุ คือ สมุทัย
  3. หาทางแก้ไข คือ นิโรธ
  4. เลือกปฏิบัติตามทางแก้ไข คือ มรรค”

โดยดร.สมฤดี ศรีจรรยา

ไม่มีภาพกิจกรรม

ไม่มีวิดีโอ

Back To Top