skip to Main Content
02-530-9204-5 sammachiv.pr@gmail.com
EEC หัวลากขบวนใหม่ของเศรษฐกิจไทย

EEC หัวลากขบวนใหม่ของเศรษฐกิจไทย

“คุณทัศนีย์  เกียรติภัทราภรณ์” รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “EEC หัวลากขบวนใหม่ของเศรษฐกิจไทย” ในหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 จัดโดยมูลนิสัมมาชีพ มีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้

ความคืบหน้าของ EEC 🙁 Eastern Economic Corridor) หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  ณ วันนี้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเรียบร้อยแล้ว มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ประมาณ ปี 2566 เราสามารถใช้รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากดอนเมืองถึงอู่ตะเภา ใช้เพียงระยะเวลา 45 นาที

วันนี้ EEC มี พ.ร.บ. รองรับแล้ว เป็นการทำกฎหมายที่เป็นเชิงนวัตกรรม ที่ไม่มีในประเทศไทยเลย ทำไมเราถึงเรียกว่าระเบียงพิเศษเศรษฐกิจภาคตะวันออกจริงๆแล้วมีเหตุผล ระเบียงนี้เป็นระเบียงของกรุงเทพ เชื่อมตั้งแต่ กทม เป็นต้นไป

วันนี้เราวิเคราะห์ออกมาแล้วในทุกภาคส่วน เรื่องของ EEC จะเป็นจุดเดียว เราจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ตัวปัจจัยขับเคลื่อน เรานำเสนอขึ้นมา 7 ปัจจัยหลักๆ ที่เราจะต้องดำเนินการ เราต้องทำให้สัมฤทธิ์ผลอย่างไร

7 ปัจจัยหลัก จะมีเรื่องของการเพิ่มพื้นที่ ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ เพียงพอ แล้วก็สมดุลกับการพัฒนาในเรื่องสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม กับอุตสาหกรรมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร รวมถึงกฎหมายต่างๆ การที่เราเตรียมความพร้อมในเรื่องของกฎหมาย พื้นที่หรือนักลงทุนต่างๆ แล้ว เราก็ต้องเชิญชวนเขาเข้ามาลงทุน

วันนี้เรามาดูในภาพรวม EEC มีเป้าหมายในการทำงานอย่างชัดเจน ทั้งอุตสาหกรรมเป้าหมายและแนวคิดในการทำงานต่างๆ เรามุ่งเน้นในเรื่องนวัตกรรมเป็นหลัก ทั้งเรื่องเป้าหมาย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันนี้ก็ต้องมีกระบวนการ การคิดให้เป็นระบบ การพัฒนาคน การศึกษาควบคู่กันไป

เมื่อไม่นาน ครม. อนุมัติมหาวิทยาลัยอมตะ เป็นความร่วมมือ ของนิคมฯอมตะ กับมหาวิทยาลัยชื่อดังของไต้หวัน เพื่อเอามาถ่ายทอดความรู้เรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ อนาคตอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะต่างๆ  

เรื่องของสนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิทางผู้เกี่ยวข้อง พยายามลดต้นทุนในเรื่องลอจิสติกส์  สร้างสนามบินพานิชย์แห่งใหม่ ที่อู่ตะเภา รวมถึงต่อไปในอนาคต เรามีท่าเรือน้ำลึก มาบตาพุด แหลมฉบังเราจะมีการทำรถไฟรางคู่ เชื่อมท่าเรือ ทั้งหมดเราพยายามจะเคลียร์ทางให้วิสัยทัศน์ทั้งหมดของ EEC ในเรื่องต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่สมบูรณ์แบบ ช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจ 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่ระดับประเทศที่มีการพัฒนาโดยเร็วที่สุด ตัว First s curve จะนำมาสู่การพัฒนา EEC ว่าภายใน ห้าปี เราจะต้องลงทุนอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท มาจากภาคอุตสาหกรรม new engine of road อยู่ 5 แสนล้านบาท

ณ วันนี้ท่านจะมีการลงทุนในส่วนของ 1.5 ล้านล้านบาทได้อย่างไร ประชาชนจะได้อะไร เราวิเคราะห์มาทั้งด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ โครงการพื้นฐาน ประชาชน บุคลากรต่างๆ รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประชาชนได้อะไรจาก 4 ด้านหลัก ด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน เรื่องการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี ซึ่งมีเป้าชัดเจนไม่ได้พูดแค่ตัวเลข

ไทยจะได้อะไรจากโครงการนี้ เราจะเอาเงินมาจากไหน ทำไมเราต้องเอาเงินภาษีมาทุ่มกับการพัฒนาสามจังหวัดนี้ เงิน 1.5 ล้านล้านบาท ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็น จากเงินงบประมาณ อีก 80 เราจะเอามาจาก PPP หรือการลงทุนภาครัฐเอกชน

เรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินในภาพรวม เรื่องผังเมือง การทำผังเมืองรวม ณ วันนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง สีแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว อาจจะต้องมีสีพิเศษสำหรับสมาร์ทซิตี้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของ EEC ทั้งหมด การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องรถไฟความเร็วสูงเรามีแนวคิดการทำงานมานานแล้ว วันนี้เราจะทำอย่างไร หลังจากที่เราปล่อยนโยบายรถไฟความเร็วสูงไป การพัฒนาอีอีซี ถือว่ามาปลดล็อคการทำงานของทุกภาคส่วน สนามบินอู่ตะเภา ทางทหารเรือพยายามให้เป็นเชิงพานิชย์  แต่พัฒนาไม่ได้เพราะกฎหมายเป็นอุปสรรค ทำให้การทำงานชิ้นหนึ่ง เช่นการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เราไปดูว่ามีกฎหมายที่จะเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างไร ปรากฎว่ามี 20 กฎหมาย นั่นหมายถึงว่าเป็นกฎหมายที่ต้องไปแก้เพราะไม่ได้สนับสนุน  อีอีซีถือว่ามาแก้ไขจุดอ่อนพวกนี้

โครงสร้างพื้นฐาน ทั้ง 6 อย่างเราพัฒนามาจาก PPP มาใช้ เรื่องสถานีรถไฟเชื่อมสนามบินทั้ง 3 แห่ง สนามบินอู่ตะเภา เรามีเครื่องบิน บุคลากร คนซ่อม วันนี้เราจะพยายามจะทำศูนย์ซ่อมอากาศยาน เริ่มต้นที่อู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3  โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 แตกต่างจากแหลมฉบับเพราะจะเป็นอุตสาหกรรมหนัก ตัวสุดท้าย ในเรื่องอุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัลทั้งหมดเรา ใช้ตัว PPP ที่เขียนขึ้นมาใหม่ โดยใช้ EEC เป็นตัวนโยบายหลัก

ตอนนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเราเปิด TOR ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเห็นว่าจะมีใครที่สามารถประมูลได้ PPP เราใช้ International Biding ปกติการทำงานเราจะประมูลกันเองบางครั้ง TOR ไม่ครอบคลุมส่วนอินเตอร์

วันนี้ทั้งหกโครงการมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจนโครงการรถไฟความเร็วสูงต่อไปปี 66 จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูง ที่เชื่อมสามสนามบิน อากาศยานทำไมต้องเสร็จพร้อมกัน รถไฟเสร็จก่อนก็ต้องไปจอดที่อู่ตะเภา เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ให้สอดคล้องกันทุกประเด็น

แต่ก่อนหน้านี้ เป้าหมายการลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท ว่าแต่ละกลุ่มกิจกรรมต้องมีเงินงทุนเท่าไร  หลังจากที่เอานโยบายออกไป เราได้ถึง 1.3 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมายที่วางไว้ เวลานายกไปติดต่องานต่างประเทศก็ต้องเอานักลงทุนกลับมาด้วย  การทำงานรถไฟความเร็วสูงมีหน่วยงานมาเกี่ยวข้องหลายหน่วย แต่ละหน่วยทำงานผลักดันกันขึ้นมาจริงๆ ประชาชนเป็นกลไกอีกอย่างที่มาร่วมผลักดัน

ส่วน พรบ เราพยายามยกระดับเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ สำนักงานอีอีซีประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจส่งเสริมพิเศษไปแล้ว 25 แห่ง ส่วนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับกิจกรพิเศษ ประกาศแล้ว ตั้งแต่ 23 กพ. 61 และยกระดับนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่ อีอีซี ตรงนี้มีอยู่ทั้งหมด 32 แห่ง ยกระดับแล้ว 21 แห่ง

Back To Top